ศว.กสอ.ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เทคโนโลยีการพิมพ์ภาพลงบนผลิตภัณฑ์เซรามิกและวัสดุชนิดต่างๆ”
วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. : จังหวัดลำปาง : กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “เทคโนโลยีการพิมพ์ภาพลงบนผลิตภัณฑ์เซรามิกและวัสดุชนิดต่างๆ” ภายใต้โครงการส่งเสริมและยกระดับการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดสากล ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม และนายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม โดยการฝึกอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2564 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นการบรรยายในหัวข้อ “เทคโนโลยีการพิมพ์ภาพ” โดย รองศาสตราจารย์วันชัย เพี้ยมแตง อาจารย์คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ และฝึกปฏิบัติการพิมพ์ภาพลงบนผลิตภัณฑ์ โดย นายพันภูวดล จารุโชติรัตนสกุล นางสาวพิมลพรรณ ปัญญามา และนางสาวนวลหง แพงพิบูลย์ จาก บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คอนเน็ค เทรด จำกัด ณ ห้องเวียงพนา โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นการบรรยายความรู้ด้านการพิมพ์รูปลอกเซรามิก การตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยรูปลอกเซรามิก และการพิมพ์ภาพลงผลิตภัณฑ์ โดย นายจิรวัฒน์ เติมขจรกิจ และนางบุญญารักษ์ เติมขจรกิจ ณ บริษัทเซรามิค เอส.ที.ซี. จำกัด มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน โดยในการฝึกอบรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด - 19 อย่างเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม
25 ก.พ. 2564
SHAP ศว.กสอ. มอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลวิสาหกิจต้นแบบ ประจำปี 2563
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดลำปาง : ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลวิสาหกิจต้นแบบ ภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productivity Workplace : SHAP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีวิสาหกิจที่ได้รับรางวัล ได้แก่ 1. บริษัท ไอ.ที.ซี. อินเตอร์คัทส์ จำกัด รางวัลวิสาหกิจต้นแบบ ระดับทอง ผู้รับมอบรางวัล : นางปัทมา กฤษณรักษ์ 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ข้าวแต๋นธานี รางวัลวิสาหกิจต้นแบบ ผู้รับมอบรางวัล : นายสุธาณี เยาวพัฒน์ 3. บริษัท ผลมณีธุรกิจ จำกัด รางวัลวิสาหกิจต้นแบบ ผู้รับมอบรางวัล : นายนทีธร น้อยมณี ณ ห้องประชุมเบญจรงค์ ชั้น 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
23 ก.พ. 2564
SHAP ศว.กสอ. จัดการประชุมเครือข่ายครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ SHAP
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดลำปาง : คณะทำงาน SHAP ประกอบด้วย นางสาววรางคณา นามนคร นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ นายรัตนทัต ฉิมคง นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ นางสาวหทัยพรรณ จันทร์ตุ้ย นักวิชาการอุตสาหกรรม (ด้านวิศวกรรม) นางศิริลักษณ์ วงษ์วชิรโชติ นักวิชาการอุตสาหกรรม นายอรรถกร พุ่มประจักษ์ เจ้าหน้าที่เทคนิคอุตสาหกรรม และนายฐากูร มากคุณ เจ้าหน้าที่โครงการ ITC ได้ร่วมกันจัด การประชุมเครือข่ายครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ SHAP กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SME ภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productivity Workplace : SHAP) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กร SMEs ในภูมิภาคให้ประสานงานความร่วมมือการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะองค์กรในสถานประกอบการ พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนเครือข่าย และประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานการสร้างสุขภาวะองค์กรร่วมกัน โดยมี ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นประธานในการประชุม และนางศิริลักษณ์ วงษ์วชิรโชติ นักวิชาการอุตสาหกรรม เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดและกิจกรรมภายใต้โครงการ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน และหน่วยงานเครือข่าย จำนวน 22 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมเบญจรงค์ ชั้น 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
23 ก.พ. 2564
ศว.กสอ. ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การการฝึกอบรม หลักสูตร “การแปรรูปเศษวัสดุเหลือทิ้งจากนาข้าวและข้าวโพดป็นกระถางเพาะพันธุ์ไม้” รุ่นที่ 5 ณ โรงเรียนบ้านเปาปมดงยาง ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.00 น. : จังหวัดแพร่ : นายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พร้อมด้วย นางสาวรุ่งฤดี ชนูดหอม นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ นายไพโรจน์ เทพนันตา นักวิชาการอุตสาหกรรม และนายกฤษณะ วงค์ก่ำ เจ้าหน้าที่เทคนิคอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกอบรม หลักสูตร “การแปรรูปเศษวัสดุเหลือทิ้งจากนาข้าวและข้าวโพดป็นกระถางเพาะพันธุ์ไม้” รุ่นที่ 5 ณ โรงเรียนบ้านเปาปมดงยาง ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ จัดโดย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากนาข้าวและข้าวโพด โดยหันมาแปรรูปเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้มาใช้ในชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายตลอดจนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดย ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์ พันธุ์แสนศรี พร้อมด้วย ดร.ลักขณา พันธุ์แสนศรี อาจารย์ทิพารัตน์ สหตรงจิตร นายกิตติกร คำเฮือน นายวายุ วาระยา และคณะทีมงานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นวิทยากรบรรยายในการอบรมครั้งนี้ ซึ่งทางศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อไป
19 ก.พ. 2564
ศว.กสอ. ร่วมส่งเสริมเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ทุกวันอังคารและวันศุกร์
จังหวัดลำปาง : วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 : นายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมส่งเสริมเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ทุกวันอังคารและวันศุกร์ ตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยของกระทรวงอุตสาหกรรม "ส่งเสริมและเผยแพร่อัตลักษณ์ผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่และสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่พี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง" ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง
17 ก.พ. 2564
ศว.กสอ. เข้าสังเกตการณ์การดำเนินงานโครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ณ มัดใจย้อม ตำบลห้วยม้า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 น. จังหวัดแพร่ : ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เข้าสังเกตการณ์การดำเนินงานโครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ณ มัดใจย้อม ตำบลห้วยม้า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นางสาวชิดชนก สุชนก เจ้าของกิจการ เป็นผู้ให้ข้อมูลการผลิตและทำข้อตกลงในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน โดยมีนางสาววรางคณา นามนคร นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมิตร ศิริอางค์ ผู้สอนงานเครื่องปั้นดินเผา ช2 เจ้าหน้าที่โครงการฯ กลุ่มส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เข้าร่วมดำเนินการด้วย เวลา 11.00 น. คณะเข้าเยี่ยมชมโรงงานกระถางป้าออน เพื่อสำรวจข้อมูลและสอบถามปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจการ เวลา 13.00 น. คณะได้เข้าพบนายสำเริง สวัสดีนฤนาท อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้การเข้าดำเนินการได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด -19 อย่างเคร่งครัด
17 ก.พ. 2564
ศว.กอส.ดำเนินงานกิจกรรมยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ (Process Transform) ภายใต้โครงการการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน (ITC – ชุมชน)
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 11.00 น. จังหวัดลำปาง : ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เข้าสังเกตการณ์การดำเนินงานกิจกรรมยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ (Process Transform) ภายใต้โครงการการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน (ITC – ชุมชน) ณ วิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมี ผศ.ดร.วสวัชร นาคเขียว หัวหน้าโครงการ ดร. อดิเรก ใบสุขันธ์ ผู้เชี่ยวชาญ และน.ส.ปิ่นมณี อินเสือ ผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญ เข้าเก็บข้อมูลและวินิจฉัยแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิต คุณวันดี แปลกปลาด ประธานวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้ว และคุณประเวศ หมีบุรุษ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นผู้ให้ข้อมูล นำชมกระบวนการผลิต และมีการหารือร่วมกันในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการผลิตของวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเครื่องมือ Low Cost Automation อย่างง่าย โดยมี นางสาวกิ่งกาญจน์ ปันเต นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรัตนทัต ฉิมคง นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ นางสาวหทัยพรรณ จันทร์ตุ้ย นักวิชาการอุตสาหกรรม (ด้านวิศวกรรม) และนายฐากูร มากคุณ เจ้าหน้าที่โครงการฯ กลุ่มวิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เข้าร่วมดำเนินการด้วย ทั้งนี้การเข้าดำเนินการได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด -19 อย่างเคร่งครัด
15 ก.พ. 2564
ศว.กสอ. เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักคิดและเครื่องมือ PDCA”
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. จังหวัดลำปาง ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนายอรรถกร พุ่มประจักษ์ เจ้าหน้าที่เทคนิคอุตสาหกรรม กลุ่มส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักคิดและเครื่องมือ PDCA” ภายใต้โครงการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จัดโดย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง โดยมี นายสุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดฯ นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมฯ ณ ห้องเบญจรงค์ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง
10 ก.พ. 2564
ศว.กสอ.เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO)
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. : จังหวัดลำปาง : ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) ตามโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัด กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัด ครั้งที่ 1/2564 จัดโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง นายสุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (ด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานในการประชุม มีคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จากทุกภาคส่วน เข้าร่วมการประชุมฯ จำนวน 20 ท่าน ณ ห้องประชุมวังธาร โรงแรมรีเจนท์ ลอด์จ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
08 ก.พ. 2564
ศว.กสอ. เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมเซรามิก
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. : จังหวัดลำปาง : ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พร้อมด้วย นายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และนายเฉลิมชัย กำแหงสกุล เจ้าหน้าที่เทคนิควิทยาศาสตร์ กลุ่มวิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อยกระดับการผลิตเซรามิก แบบดั้งเดิมเป็นเซรามิกสมัยใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต และส่งเสริมการใช้แบรนด์สินค้าเซรามิกในช่องทางการตลาด จัดโดย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดฯ นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กล่าวรายงาน โดย ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบจากแหล่งแร่ดินขาว” และ ผศ.จำลอง สุวรรณชาติ หัวหน้าสาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง บรรยายในหัวข้อ “การลดต้นทุนด้านพลังงาน/ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตเซรามิก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่” มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิก เข้าร่วมการสัมมนาฯ จำนวน 50 ราย ณ ห้องกิ่งกนก โรงแรมเอเชียลำปาง จังหวัดลำปาง
03 ก.พ. 2564